ปริญญาโท โลกศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศาสตร์

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

ชื่อหลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศาสตร์
  • Master of Science Program in Earth Sciences

ชื่อปริญญา

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • Master of Science (M.Sc.)

ปรัชญาของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตระดับชาติที่เป็นแหล่งผลิตมหาบัณฑิต นักวิจัยและนักวิชาการที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญด้านโลกศาสตร์ ที่สามารถปฏิบัติงานทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ธรณีวิทยาประยุกต์ อุตุนิยมวิทยาอุทกวิทยาและอุทกธรณีวิทยา รวมทั้งศาสตร์ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาโลกศาสตร์ อีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้ที่มีมาประยุกติ์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งเป็นแหล่งความรู้และอ้างอิงทางวิชาการด้านโลกศาสตร์โดยมีแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและนานาชาติอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

  • มีความรู้ความสามารถในการคิด ปฏิบัติ และการประยุกต์หลักการของวิชาโลกศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาได้
  • สามารถดาเนินงานวิจัยด้านโลกศาสตร์ นาเสนอผลงานวิจัยและเขียนบทความวิจัยด้านโลกศาสตร์
  • เป็นผู้มีคุณธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สาเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตอื่นๆ หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านโลกศาสตร์ และ
  2. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

ระบบการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีก 1 ภาคก็ได้ ในภาคการศึกษาหนึ่งๆ ต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนต้องมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องมีชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชาเท่ากับชั่วโมงเรียนในภาคการศึกษา

ช่วงเวลารับสมัครนิสิตใหม่

ตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรับสมัครทั้งสองภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาต้น: ประมาณเดือนกุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาปลาย: ประมาณเดือนกันยายน

ระยะเวลาการศึกษา

เป็นหลักสูตร 2 ปี โดยประกอบด้วย

1) วิชาหลัก (บังคับ) 6 วิชา ได้แก่

  • วิทยาศาสตร์ของโลก อวกาศและดาวเคราะห์ (Earth, Space and Planetary Sciences) ศีกษาเกี่ยวกับธรณีภาค ตั้งแต่กำเนิดของระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ กระบวนการต่างๆทั้งภายในและบนผิวโลก รวมถึงวัสดุต่างๆที่พบบนโลก
  • อุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศวิทยา (Meteorology and Climatology) เนื้อหาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศ ปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบรรยากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • วิทยาศาสตร์ทางอุทก (Hydrological Science) เน้นที่อุทกภาคและวัฎจักรของน้ำ ทั้งในบรรยากาศ การไหลเวียนของน้ำบนผิวดิน ได้แก่ มหาสมุทร แม่น้ำและแหล่งน้ำต่างๆ รวมถึงน้ำใต้ดิน
  • โลกศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Earth Sciences) ศึกษาวัฏจักรและระบบต่างๆ ของโลก การเคลื่อนถ่ายของพลังงานและสสารในบรรยากาศ ในอุทกภาค ธรณีภาคและชีวภาคของโลก ผลกระทบอันเกิดจากกระบวนการภายในและบนพื้นโลก ความจากัด การใช้สอย และการจัดการทรัพยากรประชากร ความมั่งคั่งของสังคม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • สัมมนาโลกศาสตร์ 1 และ 2 (Seminar in Earth Sciences I and II)

2) วิชาบังคับเลือก 2 วิชา ได้แก่ สารสนเทศน์ภูมิศาสตร์สำหรับธรณีศาสตร์ (GIS for Earth Sciences) และการเขียนเพื่องานวิจัย (Research Writing)

3) วิชาเลือกอื่นๆในหลักสูตรโลกศาสตร์ หรือในภาควิชาธรณีวิทยาตามแต่ที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เห็นสมควร
นิสิตมีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 4 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ จนถึงภาคการศึกษาที่นิสิตสอบผ่านและดาเนินการครบถ้วนตามหลักสูตรฯ

การลงทะเบียนเรียน

นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาหนึ่งๆ ไม่เกิน 15 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต หรือเป็นไปตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาใน ระดับบัณฑิตศึกษา

การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

หลักสูตรจัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ทุกปีการศึกษา เพื่อแนะนาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร กฎเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ จัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้อย่างเหมาะสม ให้คาแนะนาในการเขียนวิทยานิพนธ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

อาจารย์หรือครูในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา นักวิชาการหรือนักวิจัยในหน่วยราชการหรือเอกชนเช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณีและชายฝั่ง กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ (สสวท) กรมอุตุนิยมวิทยา สานักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หน่วยงานสารวจและผลิตปิโตรเลียม หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัย เป็นต้น

ติดต่อสอบถาม

รศ.ดร.ฐิติพรรณ อัศวินเจริญกิจ thitiphan.a@chula.ac.th โทร 02-218-5442