วันที่ 29 ส.ค. ถึง 2 ก.ย. 2557 ทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่จากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในเขต จ.พังงา และจ.ระนอง
การสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และส่งเสริมให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยในประเทศไทย
![สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสัก-ลำรู่ จ.พังงา](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0437_edited.jpg)
สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสัก-ลำรู่ จ.พังงา
![บันทึกภาพรอยเท้ามหัศจรรย์ ซึ่งเป็นเศษหิน (สีเข้ม) ที่แทรกปนอยู่ในเนื้อหินแกรนิต (สีจาง) รูปร่างคล้ายรอยเท้ามนุษย์](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0469_edited.jpg)
บันทึกภาพรอยเท้ามหัศจรรย์ ซึ่งเป็นเศษหิน (สีเข้ม) ที่แทรกปนอยู่ในเนื้อหินแกรนิต (สีจาง) รูปร่างคล้ายรอยเท้ามนุษย์
![แหลมปะการัง จ.พังงา พื้นที่ประสบภัยสึนามิ 2547](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0611_edited.jpg)
แหลมปะการัง จ.พังงา พื้นที่ประสบภัยสึนามิ 2547
![บ่อน้ำแร่ร้อน รักษะวาริน จ.ระนอง](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0704_edited.jpg)
บ่อน้ำพุร้อน รักษะวาริน จ.ระนอง
![สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว บ่อน้ำแร่ รักษะวาริน จ.ระนอง](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0760_edited.jpg)
สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ บ่อน้ำแร่ รักษะวาริน จ.ระนอง
![อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ.ระนอง](http://www.geo.sc.chula.ac.th/wp-content/uploads/2014/09/DSC_0849_edited.jpg)
สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ.ระนอง