/ by /   Uncategorized / 0 comments

Fossil

ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil) หมายถึง ซากหรือร่องรอยของบรรพชีวิน (ancient life) ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์ ถ่านหิน ไม้กลายเป็นหิน รวมอยู่ในหมู่ซากดึกดำบรรพ์เหมือนกัน ถ้าเป็นไฟลัมหรือชั้นของชีวินใดที่สามารถใช้บ่งบอกอายุหินได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) และวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า บรรพชีวินวิทยา (paleontology) Coral Coral by Geosmartbox on Sketchfab Fusulinid Fusulinid by Geosmartbox on Sketchfab
/ by /   Uncategorized / 0 comments

Metamorphic Rock

หินที่เกิดการแปรสภาพไปจากหินต้นกำเนิด โดยมีปัจจัยหลักคืออุณหภูมิและความดัน การแปรสภาพของหิน (metamorphism) สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ การแปรสภาพสัมผัส (contact metamorphism) เป็นการแปรสภาพจากความร้อน เกิดขึ้น ณ บริเวณที่หินหนืดแทรกดันขึ้นมาสัมผัสกับหินท้องที่ ความร้อนจากหินหนืดหรือหินหลอมเหลวจะทำให้หินท้องที่ในบริเวณนั้นแปรสภาพไปจากเดิม การแปรสภาพบริเวณไพศาล (regional metamorphism) เป็นการแปรสภาพของหินซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล เกิดจากความร้อนและความดัน โดยปกติการแปรสภาพแบบนี้จะไม่มีความเกี่ยวพันกับมวลหินอัคนี และมักจะได้หินแปรที่มีริ้วขนาน (foliation) มองเห็นเป็นแถบลายสลับสี เกิดมาจากการตกผลึกใหม่ของแร่ มักเกิดบริเวณที่แผ่นธรณีภาคมีการมุดตัว (subduction) หินแปรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หินแปรไม่มีริ้วขนาน (non-foliated metamorphic rock) เกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่ในหินเกิดการตกผลึกใหม่ ผลึกจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม และมีการจับตัวกันแน่นขึ้น มักพบในหินที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว ตัวอย่างเช่น หินอ่อน (marble) ประกอบด้วยแร่แคลไซต์ที่ตกผลึกใหม่จากการแปรสภาพของหินปูน...
Read More
/ by /   Uncategorized / 0 comments

Sedimentary Rock

หินตะกอน เป็นหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนหรือสารละลายที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก โดยตะกอนอาจเป็นเศษจากวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษหิน ซากพืชซากสัตว์ เป็นต้น กระบวนการเกิดหินตะกอน (sedimentary processes) 1. กระบวนการสะสมทางกายภาพ เป็นกระบวนการการสะสมตัวของตะกอนที่เกิดจากการพัดพาและทับถมของเม็ดตะกอน จนเวลาผ่านไปตะกอนถูกอัดแน่นและเชื่อมประสานกันจนกลายเป็นหิน กระบวรการสะสมทางกายภาพที่มา https://slideplayer.com/slide/4195520/ 2. กระบวนการสะสมตัวทางเคมี เป็นกระบวนการการตกตะกอนของสารละลาย (precipitation) ในสภาวะที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หินปูน (limestone) หินโดโลไมต์ (dolomite) หินเกลือ (rock salt) เป็นต้น 3. กระบวนการการสะสมตัวทางชีวภาพ เป็นกระบวนการสะสมตัวของสิ่งมีชีวิต เช่น ซากพืช ซากสัตว์ เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนถูกเชื่อมประสานจนกลายเป็นหิน เช่น ลิกไนต์ (Lignite) ไดอะทอไมต์ (Diatomite) การจำแนกหินตะกอน...
Read More
/ by /   Uncategorized / 0 comments

Igneous Rock

หินที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืด (magma) โดยสามารถจำแนกหินอัคนีตามการกำเนิดหินออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ Intrusive Rock or Plutonic Rock หินอัคนีแทรกซอน (intrusive igneous rock) เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด (magma) ภายใต้เปลือกโลก ซึ่งมีความแตกต่างของอุณหภูมิของหินหนืดกับสิ่งแวดล้อมไม่มาก มีการถ่ายโอนความร้อนจากหินหนืดไปสู่สิ่งแวดล้อมอย่างช้าๆ อุณหภูมิของหินหืดจึงค่อยๆลดลง  ทำให้หินมีผลึกแร่ขนาดใหญ่และมีเนื้อหยาบ (phaneritic texture) สามารถมองเห็นผลึกแร่ได้ด้วยตาเปล่าหรือด้วยแว่นขยาย ตัวอย่างหินอัคนีแทรกซอน เช่น หินแกบโบร (gabbro) หินไดโอไรต์ (diorite) หินแกรนิต (granite) Granite by Geosmartbox on Sketchfab Extrusive Rock or Volcanic Rock หินอัคนีพุ...
Read More
/ by /   Uncategorized / 0 comments

Rock Cycle

วัฎจักรของหิน หรือ Rock cycle วัฏจักรหินแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหินชนิดหนึ่งไปยังหินอีกชนิดหนึ่งภายใต้กระบวนการต่าง ๆ ของโลกผ่านระยะเวลายาวนาน หินมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยที่หินชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นหินชนิดใดก็ได้ โดยหินอาจถูกกระบวนการกัดกร่อน ผุพัง และสะสมตัวใหม่ จากนั้นเกิดกระบวนการแข็งตัวเป็นหิน (lithification) แล้วเกิดเป็นหินตะกอน หรืออาจได้รับความร้อนและแรงดันจากใต้เปลือกโลกทำให้หินเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นหินแปร นอกจากนั้นหินเหล่านี้อาจถูกหลอมละลายใต้เปลือกโลกจนกลายเป็นแมกมา (magma) จากนั้นเย็นตัวและตกผลึกกลายเป็นหินอัคนี โดยหินอัคนีบางส่วนจะถูกดันและยกตัวขึ้นมาบนผิวโลก จากนั้นเริ่มกระบวนการกัดกร่อนหรือผุพัง และบางส่วนอาจเกิดการแปรสภาพหรือเกิดการหลอมละลายกลายเป็นแมกมาเหมือนเดิมเป็นวัฏจักร หินมีทั้งหมด 3 ประเภทตามวัฏจักรหิน หินอัคนี (Igneous Rock) หินตะกอน (Sedimentary Rock) หินแปร (Metamorphic Rock) ซากดึกดำบรรพ์ หรือ Fossil ซากหรือร่องรอยของบรรพชีวิน (ancient life) ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์...
Read More
/ by /   Uncategorized / 0 comments

วัตถุประสงค์

สร้างชุดเรียนรู้หินกับจุฬาสมาร์ทเลนส์ “Learning Rocks with CU Smart Lens” ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้สอน และผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากตัวอย่างจริงจากธรรมชาติ ทั้งหิน เเร่ และซากดึกดำบรรพ์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว สร้างเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยคนทั่วไปสามารถเข้าถึงเว็บไซต์นี้ได้ ภาพ ภาพระหว่างการดำเนินโครงการ แทรกภาพ
/ by /   Uncategorized / 0 comments

โครงการเรียนรู้หินกับกล้องจุลทรรศน์จิ๋ว

ธรณีวิทยาเป็นหนึ่งองค์ความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยครูในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 เนื้อหาเกี่ยวกับธรณีวิทยาได้ถูกนำมาใช้ในการสอบโอเน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 6 ของข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ทั้งนี้การเรียนของนักเรียนโดยส่วนใหญ่จะได้จากการอธิบายตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นหลัก ในขณะที่สื่อการเรียนการสอนที่เป็นตัวอย่างจริงจากธรรมชาติมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเรียนธรณีวิทยาผ่านการดูตัวอย่างจริงจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นหิน แร่ หรือซากดึกดำบรรพ์มีความสำคัญ เพราะการมีตัวอย่างหินหรือเเร่ จะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการสังเกตร่วมกับแว่นขยาย เพื่อพิจารณาแร่ที่เป็นองค์ประกอบขนาดเล็กในหิน หรือบอกลักษณะจำเพาะของแร่บางชนิดได้ นำไปสู่การจำแนกประเภทและชนิดของหินและแร่ได้อย่างถูกต้อง และเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนใน ห้องเรียนแทนการท่องจำจากรูปภาพในหนังสือเรียน ดังนั้นโครงการเรียนรู้หินกับจุฬาสมาร์ทเลนส์ “Learning Rocks with CU Smart Lens” ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาในห้องเรียน โดยจัดทำในรูปแบบของกล่องอเนกประสงค์ที่ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน จุฬาฯสมาร์ทเลนส์ ตัวอย่างหินและซากดึกดำบรรพ์ คู่มือการสอนรูปแบบหนังสือและออนไลน์ ผลจากการจัดทำโครงการนี้จะช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนได้ดีขึ้น      
/ by /   ข่าว, ทุนการศึกษา / 0 comments

นิสิตเก่าภาควิชาฯ ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2561

ภาควิชาธรณีวิทยา ขอแสดงความยินดีกับ น.ส.บุญฑิกานต์ คูหาสรรพสิน นิสิตเก่า รหัส 5732732023 ผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2561 ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านธรณีฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
1 2 3 4 5 6 7 13