บันทึกการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยา ประเทศอินโดนีเซีย

ในช่วงวันที่ 23-29 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา พวกเราทั้งสามคน (นายวัชรพล สียางนอก นายชิตชน ชิตพยัคฆ์ และ นางสาวอิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์ นิสิตชั้นปีที่ 3) ได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันทำแผนที่ธรณีวิทยาที่เมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเชีย (International Geomapping Competition 2015) จัดขึ้นโดย Universitas Gadjah Mada การแข่งขันครั้งนี้ มีผู้แข่งขันเข้าร่วมทั้งหมด 15 ทีม (อินโดนีเชีย 12 ทีม มาเลเชีย 2 ทีม และประเทศไทย 1 ทีม) ลักษณะการแข่งขันเป็นการเดินภาคสนามเป็นเวลา 3 วัน จัดทำโปสเตอร์และนำเสนอผลงาน

10 ปี การศึกษาสึนามิในประเทศไทย – BOXING DAY TSUNAMI 10 YEARS LATER

ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว วันที่ 26 ธันวาคม 2557 ที่จะถึงนี้ เป็นวันครบรอบ 10 ปี เหตุการณ์พิบัติภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ ที่จัดได้ว่าเป็นพิบัติภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คนใน 14 ประเทศ และยังความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล

ธรณีสัณฐานวิทยาพื้นฐาน Basic Geomorphology

ตําราเล่มนี้ผู้เขียนได้พัฒนาขึ้นมาจากเอกสารประกอบการเรียนการสอน ท่ีช่ือว่า “ธรณีสัณฐานวิทยา” โดยได้แต่งและเรียบเรียงไว้ในปี พ.ศ. 2548

Soft Quake: งานเขียนด้านธรณีวิทยา ที่แอบนินทา “แผ่นดินไหว” แบบเบาๆ

โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา ของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หรือลูกศิษย์คนไหน ต้องการหนังสือเล่มนี้ไปไว้ที่ห้องสมุด ส่งที่อยู่โดยละเอียดมาทาง pailoplee.s@gmail.com ผู้เขียนยินดีมอบให้เพื่อการศึกษาครับ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากมองแต่เปลือกหนังสือ หรือพลิกดูแค่หัวเรื่องที่โปรยเอาไว้ในสารบัญ ผู้อ่านก็คงตงิดอยู่ในใจว่า ใช่แน่ !!! นี่มันก็แค่หนังสืออ่านเล่นแกล้มขนมหน้าจอทีวี อย่ากระนั้นเลย ก่อนที่ผู้อ่านจะควักสตางค์แลกหนังสือเล่มนี้แบบ “เข้าใจผิดคิดว่า…” ผู้เขียนคงต้องตีตรา แปะยี่ห้อเอาไว้ก่อน กันโดนด่าย้อนหลังว่าหลอกลวงผู้บริโภค

การ์ตูนวิทยาศาสตร์ “แจ๋วแหว๋ว กับเดอะแก๊งค์”

เพื่อให้เด็กไทยได้มีโอกาสอ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว ได้มีส่วนร่วมกับทีมงานวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ ชุด “แจ๋วแหว๋ว กับเดอะแก๊งค์”  ฉบับ ธรณีวิทยา โดยมี ผศ.ดร.สตรีรัตน์ กำแพงแก้ว โฮดัค เป็นบรรณาธิการและผู้อำนวยการแผนงาน
/ by /   ข่าว, ความรู้ / 0 comments

รอยเลื่อนนอกสายตา

รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ให้สัมภาษณ์ นิตยสาร สารคดี ฉบับที 353 กรกฎาคม 2557 – 6.3 ริกเตอร์ ธรณีไทยสะเทือน
/ by /   ข่าว, ความรู้ / 0 comments

ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

รอยเลื่อน คือรอยแตกในหินที่แสดงการเลื่อน สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย ขนาดของรอยเลื่อนมีตั้งแต่ระดับเซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร
/ by /   ข่าว, ความรู้ / 0 comments

ปรากฏการณ์ทรายพุ

ตัวอย่าง ปรากฏทรายพุ ที่เกิดขึ้นจากการสั่นไหวของพื้นดิน ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหว ในพื้นที่ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย
/ by /   ข่าว, ความรู้ / 0 comments

แผ่นดินไหวแม่ลาว 6.3

เมื่อเวลา 18.08 น. วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่ระดับความลึก 7 กิโลเมตร บริเวณ ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ประชาชนสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนทั่วทั้งภาคเหนือรวมทั้งผู้ที่อาศัยในอาคารสูงในกรุงเทพฯ