/ by /   Uncategorized / 0 comments

โครงการเรียนรู้หินกับกล้องจุลทรรศน์จิ๋ว

ธรณีวิทยาเป็นหนึ่งองค์ความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยครูในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 เนื้อหาเกี่ยวกับธรณีวิทยาได้ถูกนำมาใช้ในการสอบโอเน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 6 ของข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ทั้งนี้การเรียนของนักเรียนโดยส่วนใหญ่จะได้จากการอธิบายตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นหลัก ในขณะที่สื่อการเรียนการสอนที่เป็นตัวอย่างจริงจากธรรมชาติมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเรียนธรณีวิทยาผ่านการดูตัวอย่างจริงจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นหิน แร่ หรือซากดึกดำบรรพ์มีความสำคัญ เพราะการมีตัวอย่างหินหรือเเร่ จะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการสังเกตร่วมกับแว่นขยาย เพื่อพิจารณาแร่ที่เป็นองค์ประกอบขนาดเล็กในหิน หรือบอกลักษณะจำเพาะของแร่บางชนิดได้ นำไปสู่การจำแนกประเภทและชนิดของหินและแร่ได้อย่างถูกต้อง และเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนใน ห้องเรียนแทนการท่องจำจากรูปภาพในหนังสือเรียน

ดังนั้นโครงการเรียนรู้หินกับจุฬาสมาร์ทเลนส์ “Learning Rocks with CU Smart Lens” ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาในห้องเรียน โดยจัดทำในรูปแบบของกล่องอเนกประสงค์ที่ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน จุฬาฯสมาร์ทเลนส์ ตัวอย่างหินและซากดึกดำบรรพ์ คู่มือการสอนรูปแบบหนังสือและออนไลน์ ผลจากการจัดทำโครงการนี้จะช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนได้ดีขึ้น

หนังสือคู่มือ Learning Rock

 

วัตถุประสงค์

 

คู่มือการใช้งาน

 

วัฎจักรหิน (Rock’s cycle)