/ by /   Uncategorized / 0 comments

Rock Cycle

ที่มา https://youtu.be/BgJ74KKZyD4


วัฎจักรของหิน หรือ Rock cycle

วัฏจักรหินแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหินชนิดหนึ่งไปยังหินอีกชนิดหนึ่งภายใต้กระบวนการต่าง ๆ ของโลกผ่านระยะเวลายาวนาน หินมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยที่หินชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นหินชนิดใดก็ได้ โดยหินอาจถูกกระบวนการกัดกร่อน ผุพัง และสะสมตัวใหม่ จากนั้นเกิดกระบวนการแข็งตัวเป็นหิน (lithification) แล้วเกิดเป็นหินตะกอน หรืออาจได้รับความร้อนและแรงดันจากใต้เปลือกโลกทำให้หินเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นหินแปร นอกจากนั้นหินเหล่านี้อาจถูกหลอมละลายใต้เปลือกโลกจนกลายเป็นแมกมา (magma) จากนั้นเย็นตัวและตกผลึกกลายเป็นหินอัคนี โดยหินอัคนีบางส่วนจะถูกดันและยกตัวขึ้นมาบนผิวโลก จากนั้นเริ่มกระบวนการกัดกร่อนหรือผุพัง และบางส่วนอาจเกิดการแปรสภาพหรือเกิดการหลอมละลายกลายเป็นแมกมาเหมือนเดิมเป็นวัฏจักร

หินมีทั้งหมด 3 ประเภทตามวัฏจักรหิน


ซากดึกดำบรรพ์ หรือ Fossil

ซากหรือร่องรอยของบรรพชีวิน (ancient life) ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์ ถ่านหิน ไม้กลายเป็นหิน รวมอยู่ในหมู่ซากดึกดำบรรพ์เหมือนกัน ถ้าเป็นไฟลัมหรือชั้นของชีวินใดที่สามารถใช้บ่งบอกอายุหินได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) และวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า บรรพชีวินวิทยา (paleontology)